เกี่ยวกับฟลิม์

ฟิล์มกรองแสง 40% 60% 80 % คืออะไร

ความเข้าใจผิดที่แก้ไขยากสำหรับวงการฟิล์ม สืบเนื่องจากในยุคแรกๆ ฟิล์มมีไม่กี่ชนิดและมีไม่กี่ระดับความเข้มโดยมาตรฐานตอนนั้นจะมีเบอร์ที่เป็นมาตรฐานสากลคือ เบอร์ 5, 20, 50 ซึ่งตามมาตรฐานแล้วเบอร์ฟิล์มจะบ่งบอกถึงประมาณการณ์ของค่าแสงส่องผ่าน (Visible Light Transmittance) เช่น ฟิล์มรหัส xx 05 จะหมายถึงฟิล์มเบอร์นี้แสงสามารถส่องผ่านได้ประมาณ 5% คือฟิล์มมีความเข้ม 95%

บ้านเราเห็นมันเข้มหรือทึบสุดเลยเรียกว่าฟิล์ม 80%, ฟิล์มเบอร์ xx 20 หมายถึงฟิล์มเบอร์นี้ แสงสามารถส่องผ่านได้ประมาณ 20% หรือฟิล์มเข้ม 80% บ้านเราเรียกฟิล์มเบอร์นี้ว่าฟิล์ม 60%, ฟิล์มเบอร์ xx 50 หมายถึงฟิล์มเบอร์นี้ แสงสามารถส่องผ่านได้ประมาณ 50% หรือฟิล์มเข้ม 50% บ้านเราเรียกฟิล์ม 40% นี่แหละครับความเข้าใจผิดที่เกิดขึ้น

การลดความร้อนของฟิล์มเป็นอีกเรื่องหนึ่งซึ่งถกเถียงกันไม่จบบ้างก็อยากให้วัดกับหลอดไฟซึ่งผู้บริโภคคงสับสนกันอยู่พอสมควรว่าจะทดสอบและตัดสินใจเลือกกันอย่างไรให้ถูกต้องกันแน่เราจะดูตารางเปรียบเทียบไอความร้อนที่เราได้รับดูกันก่อน ระหว่างแหล่งกำเนิดที่ต่างกัน คือ ระหว่างดวงอาทิตย์กับหลอดไฟ

รังสีและแสงสว่าง ดวงอาทิตย์ หลอดไฟ (สปอร์ตไลท์)
แสงสว่าง 44% 10-20%
รังสีอินฟราเรด 53% 80-90%
รังสียูวีหรืออุลตร้าไวโอเลต 3% น้อยมาก
รวม 100% 100%
เกี่ยวกับฟลิม์

ดังนั้นการพิจารณาในการเลือกฟิล์มกรองแสงจากคุณสมบัติในการลดความร้อนนั้น สามารถใช้หลอดไฟในการเปรียบเทียบได้ คือให้รู้ว่าฟิล์มตัวไหนสามารถลดรังสีอินฟราเรดได้ดีกว่ากัน(ควรจะเทียบใน ระดับฟิล์มที่มีความเข้มระดับเดียวกันหรือใกล้เคียง) ก็จะได้รู้ว่าฟิล์มตัวไหนสามารถลดความร้อนได้ดีกว่า ย้ำนะครับว่าให้เทียบในระดับความเข้มเดียวกัน แต่ก็อย่าคาดหวังว่าจะลดความร้อนได้ดีอย่างที่เรารู้สึก เพราะดวงอาทิตย์มีส่วนประกอบของความร้อนอย่างอื่นประกอบด้วย ถ้าจะเอาค่าการลดความร้อนรวม (Total Solar Energy Rejected หรือ TSER) ก็ลองแวะร้านค้าตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการของ Smarttec ดูครับเรามี Optical Meter ไว้ให้ทดสอบครับ ดังนั้นการเลือกฟิล์มก็ควรที่จะดูเรื่องโครงสร้างสินค้า-ราคาและการลดความ ร้อนรวมจากแสงแดดเป็นตัวประกอบด้วย จะได้คุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไป

optialcal-meter
optialcal-meter
optialcal-meter

ฟิล์มธรรมดา

ฟิล์มธรรมดา คือฟิล์มที่ไม่มีส่วนผสมของโลหะหรือสารอื่นใดที่ช่วยในการลดคลื่นรังสีความ ร้อน โดยจะมีโครงสร้างการผลิตอยู่คร่าวๆ 2 แบบคือ

ชนิดสีผสมกาว (Color in adhesive)

ฟิล์มชนิดสีผสมกาว

ชนิดสีอยู่ในเนื้อฟิล์ม (Color in P.E.T.)

ฟิล์มชนิดสีอยู่ในเนื้อฟิล์ม

โดยถ้าเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสียของทั้ง 2 ชนิด จะได้การเปรียบเทียบดังนี้

ด้าน ชนิดสีผสมกาว ชนิดสีอยู่ในเนื้อฟิล์ม
คุณภาพการลดความร้อน 30-50% 30-50%
ราคา 800-1,000 บาท/คัน 1,200-1,500 บาท/คัน
อายุการใช้งาน 1-3 ปี 5-7 ปี
วิสัยทัศน์ในการมองจากภายใน ค่อนข้างขุ่นมัว ดีกว่า
รู้จักฟิล์มกรองแสง pet poly ester

ฟิล์มปรอท, ฟิล์มเคลือบโลหะ และฟิล์มลดความร้อน

ฟิล์มปรอท, ฟิล์มเคลือบโลหะ และฟิล์มลดความร้อน คือฟิล์มที่นำโลหะเข้ามาเป็นส่วนผสมในการผลิต โดยในปัจจุบันที่นิยมใช้มีอยู่ 2 ชนิดด้วยกันคือ

ชนิดสีผสมกาวเคลือบด้วยแผ่นโลหะ
(Color in adhesive with Metalized P.E.T.)

ฟิล์มชนิดสีผสมกาวเคลือบด้วยแผ่นโลหะ

ชนิดสีอยู่ในเนื้อฟิล์มเคลือบด้วยแผ่นโลหะ
(Color in P.E.T. with Metalized P.E.T.)

ฟิล์มชนิดสีอยู่ในเนื้อฟิล์มเคลือบด้วยแผ่นโลหะ

โดยถ้าเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสียของทั้ง 2 ชนิด จะได้การเปรียบเทียบดังนี้

ด้าน ชนิดสีผสมกาว ชนิดสีอยู่ในเนื้อฟิล์ม
คุณภาพการลดความร้อน 35-85% 35-90%
ราคา 2,000-3,000 บาท/คัน 3,000-5,000 บาท/คัน
อายุการใช้งาน 3-5 ปี 7-10 ปี
วิสัยทัศน์ในการมองจากภายใน ค่อนข้างขุ่นมัว ดีกว่า
รู้จักฟิล์มกรองแสง

ฟิล์มอินฟราเรด (Infrared Film)

ฟิล์มอินฟราเรด (Infrared Film) เป็นฟิล์มชนิดที่เคลือบสารพิเศษในการไปตัดรังสีอินฟราเรดได้ดี ซึ่งรังสีอินฟราเรดเป็นส่วนประกอบหนึ่งของความร้อน (ดูการลดความร้อนของฟิล์มในช่วงต่อไป) แต่จากการโฆษณาทำให้ผู้บริโภคหลงเชื่อว่าสามารถลดความร้อนได้ดี โดยใช้ตัวเลขในการลดรังสีอินฟราเรดเป็นตัวโฆษณาและมีราคาที่สูงมาก ทำให้ตลาดไม่ค่อยตอบรับเท่าที่ควร แต่ในปัจจุบันมีสินค้าประเภทนี้ที่มีราคาถูกลงให้ได้เลือกกันมากขึ้น

ฟิล์มอินฟราเรด

ฟิล์มนิรภัย (Safety Film)

ฟิล์มนิรภัย (Safety Film) เป็นฟิล์มชนิดที่มีความหนาตั้งแต่ 4 MIL ขึ้นไป (1 MIL = 1/1,000 นิ้ว) มีทั้งชนิดลดความร้อนและไม่ลดความร้อน ส่วนมากจะใช้ในงานอาคารสูงเพื่อยึดกระจกไว้เวลากระจกแตก

broken glass
broken glass
broken glass

ตัวอย่างผลการทดสอบฟิล์มนิรภัย